วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Guthrie




ทฤษฎีการวางเงื่อนไขต่อเนื่องของกัทธรี
ทฤษฎีการวางเลื่อนแขแบบต่อเนื่องของกัทธรี (Guthrie’s Continuous Conditioning Theory)
กัทธรี (Guthrie 1886-1959) เป็นศาสตราจารย์ทางจิตวิทยาชาวอเมริกันเขาได้แนวความคิดจากทฤษฏี
การเรียนรู้ของวัตสันคือ การศึกษาการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคหรือจากกริยาสะท้อน (Reflex) เป็น
การเรียนรู้แบบต่อเนื่อง ไว้โดยไม่ต้องกระทำซ้ำบ่อย ๆ

กฎการเรียนรู้
กฎการเรียนรู้ กัทธรีมีแนวความคิดว่า พฤติกรรมของมนุษย์มีสิ่งเร้าควบคุม และการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเปลี่ยนไปตามกฎเกณฑ์ พฤติกรรมหลายอย่างมีจุดหมาย พฤติกรรมใด
ที่ทำซ้ำ ๆ เกิดจากกลุ่มสิ่งเร้าเดิมทำให้เกิดพฤติกรรมเช่นนั้น เขาจึงสรุปการเรียนรู้ได้ว่า
1. เมื่อมีสิ่งเร้าเกิดขึ้นพร้อมกับมีการตอบสอนง และเมื่อสิ่งเร้าในลักษณะเดียวกันเกิดขึ้นอีก ก็จะมีแนวโน้มการตอบสนองในแนวเดิม
2. หลักการกระทำครั้งสุดท้าย ถ้าการเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์จากกากระทำเพียงครั้งเดียว ซึ่ง
ถ้าการกระทำครั้งสุดท้ายในสภาพการณ์ใหม่เกิดขึ้นอีกผู้เรียนจะกระทำเหมือนที่เคยทำครั้งสุดท้าย
3. หลักการแทนที่ ถ้าสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไขมาเร้าให้บุคคลตอบสนองได้แม้เพียงครั้งเดียวมาถ้าใช้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขมาแทนสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขก็จะเกิดการตอบสนองเช่นเดียวกัน ในการทำให้เกิดการเรียนรู้นั้น กัทธรีเน้นการจูงใจมากกว่าการเสริมแรง ซึ่งมีแนวความคิดเช่นเดียว
กับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟและวัตสัน

การนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
จากทฤษฎีการเรียนรู้ของกัทธรีเราสามารถนำมาใช้ในด้านการเรียนการสอนได้ดังนี้ 1. การเรียนรู้เกิดจากการกระทำหรือการตอบสนองเพียงครั้งเดียวไมต้องลองกระทำหลาย ๆ ครั้ง
หลักการนี้ใช้ได้กับผู้มีประสบการณ์เดิมมาก่อน
หลักการเรียนรู้ของทฤษฎี กัทธรีมีแนวความคิดว่า การเรียนรู้เกอิดจาก ความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองของผู้เรียนโดยเกิดจากการกระทำเพียงครั้งเดียว (One-Trial Learning) มิต้องลองทำหลายครั้ง เขาเชื่อว่าเมื่อใดก็ตามที่มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า แสดงว่า ผู้เรียนเรียนรู้ที่จะตอบสนองติ่สิ่งเร้าที่ปรากฏในขณะนั้นทันที และเป็นการตอบสนองติ่สิ่งเร้าอย่างสมบูรณ์ไม่จำต้องฝึกต่อไป และสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดอาการเคลื่อนไหวเป็นสิ่งที่วางเงื่อนไขอย่างแท้จริง
การทดลอง

กัทธรีได้ทำการทดลองโดยใช้แมวและสร้างกล่องปัญหาขึ้น ซึ่งมีลักษณะพิเศษ คือจะมี
กล้องถ่ายภาพยนตร์ติดไว้ที่กล่องปัญหาด้วย นอกจากนี้ยังมีเสาเล็ก ๆ อยู่กลางกล่องและมีกระจกที่ประตู
ทางออกประตูหน้า ซึ่งเปิดแง้มอยู่มีปลาแซลมอนวางอยู่บนโต๊ะข้างหน้ากล่อง กัทธรีจะสังเกตพฤติกรรมโดยการบันทึกภาพไว้ตั้งแต่แมวถูกขังไว้และหาทางออกจากกล่องปัญหาจนได้ จากการบันทึกและสังเกตพบว่า
แมวบางตัวจะกัดเสาหลายครั้ง บางตัวก็จะหันหลังและชนเสา บางตัวหนีออกจากกล่องและบางตัว
ใช้เท้าหน้าและเท้าหลังชนเสา บางตัวหนีออกจากกล่องและบางตัวใช้เท้าหน้าเท้าหลังชนเสาและหมุนไป รอบ ๆ เขาจึงสรุปว่า
ก. แมวบางตัวมีแบบแผนการกระทำหลายแบบที่จะหนีจากกล่องถ้าอากรเลื่อนไหวครั้งสุดท้าย
ประสบผลสำเร็จ จะเป็นแบบแผนที่แมวจะยึดถือในการแก้ปัญหาครั้งต่อไป
ข. แมวบางตัวมีแบบแผน แบบเดียวและใช้ วิธีนั้นจนกว่าจะเปลี่ยนสิ่งเร้าที่จะทำให้เรียนรู้ขึ้น
เขามีความเห็นว่า แมวที่เขาใช้ทดลอง ทำแบบที่เคยทำไมสำเร็จก็จะเปลี่ยน วิธีใหม่ ถ้าแบบใหม่
ประสบผลสำเร็จแมวจะยึดแบบนั้น
2. ถ้าต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ควรใช้การจูใจ เพื่อทำให้เกิดพฤติกรรมมากกว่าการเสริมแรง
3. แนวความคิดกัทธรีก็คล้ายคลึงกับแนวความคิดในการเรียนรู้อย่างมีเงื่อนไขจากทฤษฎีอื่น ซึ่ง
ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเช่นกัน
4. กัทธรีเชื่อว่าการลงโทษมีผลต่อการเรียนรู้ ซึ่งมี 4 ลักษณะคือ
ก. การลงโทษสถานเบา ทำให้ผู้ถูกลงโทษมีอาการตื่นเต้นแต่พฤติกรรมอาจยังไม่เปลี่ยนแปลง
ข. การเพิ่มโทษ ทำให้ผู้ถูกลงโทษเลิกแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา
ค. การลงโทษเปรียบเสมือนแรงขับที่กระตุ้นให้ผู้ถูกลงโทษตอบสนองต่อสิ่งเร้าจนกว่าจะ
หาทางลดความเครียดไว้ การเรียนรู้เกิดขึ้นจากการได้รับรางวัลมากกว่าการลงโทษ
ง. ถ้ามีพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาเกิดขึ้นแล้วลงโทษ ทำให้มีพฤติกรรมอื่นตามมาภายหลัง
พฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนานั้น อาจเป็นพฤติกรรมอื่นที่ไม่พึงปรารถนาเชนเดียวกัน จึงควรที่จะให้
พฤติกรรมที่พึงปรารถนาแทนที่พฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาไปพร้อมกัน เช่น เมื่อต้องการให้เลิกพฤติกรรม
ลอกงานเพื่อนมาส่ง ควรจะให้ทำงานไปพร้อมทั้งอธิบายให้เข้าใจและเปิดตำราตอบได้

ไม่มีความคิดเห็น: