วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Watson


ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค

วัตสัน (Watson 1958) ได้นำเอาทฤษฎีของพาฟลอฟมาและถือว่าเขาเป็นผู้นำแห่งกลุ่มจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม และทฤษฎีของเขามีลักษณะในการอธิบายเรื่องการเกิดอารมณ์จากการวางเงื่อนไข
หลักการเรียนรู้ของวัตสัน ซึ่งเป็นการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค คือการใช้สิ่งเร้าสองสิ่งคู่กัน สิ่งเร้าที่มีการวางเงื่อนไข (CS) กับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCS) เพื่อให้เกิดการตอบสนองที่ต้องการ คือ การเรียนรู้นั่นเองและการที่จะทราบว่า การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคได้ผลหรือไม่ ก็คือการตัดสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (CS) ถ้ายังมีการตอบสนองเหมือนเดิมที่ยังมีสิ่งเร้าที่ไมวางเงื่อนไขอยู่แสดงว่าการวางเงื่อนไขได้ผล
สิ่งที่เพิ่มเติมในหลักการเรียนรู้ของวัตสัน คือแทนที่จะทดลองกับสัตว์ เขากลับใช้การทดลองกับ
คน เพื่อทดลองกับคน ก็มักจะมีอารมณ์มากเกี่ยวข้อง วัตสันกล่าวว่าอารมณ์ที่เกิดขึ้น เช่น อารมณ์กลัว
มีผลต่อสิ่งเร้าบางอย่างตามธรรมชาติอยู่แล้ว อาจจะทำให้กลัวสิ่งเร้าอื่นที่มีอยู่รอบ ๆ ต่างกายอีกได้จากการเงื่อนไขแบบคลาสสิค โดยให้สิ่งเร้าที่มีความกลัวตามธรรมชาติ เป็นสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCS) กับสิ่งเร้าอื่นที่ต้องการให้เกิดความกลัว เป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) มาคู่กันบ่อย ๆ เข้าในที่สุดก็จะเกิดความกลัวในสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขได้ และเมื่อทำให้เกิดพฤติกรรมใดได้ วัตสันเชื่อว่าสามารถลบพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้

การทดลอง
การทดลองของวัตสัน วัตสันได้ร่วมกับเรย์เนอร์ (Watson and Rayner 1920) ได้ทดลองวาง
เงื่อนไขเด็กอายุ 11 เดือน ด้วยการนำเอาหนูตะเภาสีขาวเสนอให้เด็กดูคู่กับการทำเสียงดัง เด็กตกใจจน
ร้องไห้ เมื่อนำเอาหนูตะเภาสีขาวไปคู่กับเสียงดังเพียงไม่กี่ครั้ง เด็กก็เกิดความกลัวหนูตะเภาสีขาว และ
กลัวสิ่งอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายหนูตะเภาหรือมีลักษณะสีขาว เช่น กระต่าย สุนัข เสื้อขนสัตว์ ซึ่งเป็น
สิ่งเร้าที่คลายคลึงกัน ความคล้ายคลึงกันทำให้กรริยาสะท้อนตกอยู่ภายใต้การควบคุมของสิ่งเร้ามากขึ้น
เด็กที่เคยกลัวหมอฟันใส่เสื้อสีขาว ก็จะกลัวหมอคนอื่นที่แต่งตัวคล้ายกัน
ความคล้ายคลึงกันก็สามารถทำให้ลดลง โดยการจำแนกได้เช่นเดียวกัน เช่นถ้าหากต้องการให้
เด็กกลัวเฉพาะอย่าง ก็ไม่เสนอสิ่งเร้าทั้งสองอย่างพร้อมกัน แต่เสนอสิ่งเร้าทีละอย่างโดยให้สิ่งเร้านั้นเกิด
ความรู้สึกในทางผ่อนคลายลง

การนำหลักการเรียนรู้การวางเงื่อนไข ไปใช้ในการเรียนการสอน เราสามารถนำหลักการเรียนรู้
มาประยุกต์ใช้ โดยสร้างพฤติกรรมที่พึงปรารถนาขึ้นได้ นอกจากนี้กลักการเรียนรู้นำมาปรับพฤติกรรมได้
ซึ่งทำให้พฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนานั้นกลายเป็นพฤติกรรมที่พึงปรารถนาได้ ซึ่งมีหลักการนำมาประยุกต์
ได้ดังนี้
1. การนำหลักการลดพฤติกรรมมาใช้ โดยที่ผู้สอนต้องตระหนักเสมอว่า การให้ผู้เรียนเรียนแต่
อย่างเดียวบ่อย ๆ อาจทำให้เกิดความเบื่อหน่ายซ้ำซากจำเจ ควรมีการแทรกสิ่งที่เขาขอบไปบ้าง เพื่อให้
เกิดความอยากเรียนซ้ำอีก เป็นการป้องกันมิให้เกิดการลบพฤติกรรมที่พึงปรารถนาได้ คือ ภายหลังการ
เรียนรู้แล้ว การเสนอบทเรียนซึ่งเป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) เพียงอย่างเดียว จะทำให้เกิดความเบื่อหน่ายซ้ำซาก ต้องแทรกสิ่งที่ผู้เรียนชอบ
2. การนำกฎความคล้ายคลึงกันไปใช้ ควรพยายามให้คล้ายกับการเรียนรู้ครั้งแรกมาอธิบาย
เปรียบเทียบให้ฟัง เพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น เช่นการอธิบายมโนทัศน์ หรือความคิดรวบยอดแต่ละคน ให้มีความ
สัมพันธ์กับสิ่งที่คล้ายคลึงกัน
3. การนำกฎการจำแนกมาใช้ โดยการสอนให้เข้าใจความหมายของสิ่งที่เรียนครั้งแรกให้เข้าใจ
แจ่มแจ้ง แล้วอธิบายความแตกต่างของสิ่งเร้าอื่นว่าแตกต่างจากสิ่งเร้าแรกอย่างใดซึ่งก็เป็นการสอน
มโนทัศน์ หรือความคิดรวบยอดนั้นเอง

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

luckyclub.live - Lucky Club
Play on Lucky Club and over 1200 slot and live luckyclub casino games including blackjack, roulette, and video poker. Sign up today and join now!🎰 Slots: 1,000+💰 Min Withdrawal: $50